Sample text

Sample Text

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”


เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

อาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน

"เป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เป็นการให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยมีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยง มุ่งสร้างงาน
สร้างประชาธิปไตย นำวิชาการมาใช้ จะดีมากสำหรับลูกคนรวยสุดกับจนสุดจะได้ทำงานร่วมกัน เป็นเพื่อนกัน ปรับตัวเข้าหากัน เคยมีพ่อแม่ที่ร่ำรวยมาขอยกเว้นว่าเขามีเงินและลูกไม่ต้องทำงานได้ไหม ไม่อยากให้ลูกเหนื่อยบางทีก็มีรดน้ำขุดดิน ขายของ เราก็เลยต้องบอกไปว่าไม่ใช่เพื่อเงินนะแต่ว่าเด็กควรจะต้องรู้ว่าที่พ่อแม่มีเงินเป็นสิบล้านนี่มันได้มายังไง เหนื่อยแปลว่าอะไร นักเรียนต้องรู้นะ ถ้าไม่รู้ต่อไปเป็นประธานบริษัท ไปใช้งานลูกน้อง จะไปใช้ได้ไง คนเขากำลังเหนื่อย กำลังหิว ถ้าได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไว้ก่อนจะทำให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น"

* "คนส่วนใหญ่มักจะแปลความหมายของวิชาอาชีพว่าเป็นวิชาฝีมือต่างๆแท้จริงแล้ววิชาอาชีพน่าจะหมายถึง การรู้จักทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ โดยประกอบอาชีพอะไรก็ได้ที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรมและเป็นการ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้างสำหรับการเรียนการสอนวิชาอาชีพในโรงเรียนนั้น มักจะสอนให้เด็กไปเป็นลูกจ้างเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การสอนให้เป็นลูกจ้างนั้นยากกว่าการสอนให้เป็นนายตัวเอง ด้วยการประกอบอาชีพอิสระ เพราะอาชีพลูกจ้างจะถูก ระบุคุณสมบัติที่ใช้เวลาฝึกฝนและเตรียมตัวนานและตลาดแรงงานที่รับมีน้อย การสอนวิชาอาชีพอิสระนั้น จะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นนายตนเองไม่ต้อง เป็นลูกจ้าง แต่เป็นเจ้าของกิจการเล็กบ้าง ใหญ่บ้างตามกำลัง ในการทำจริงควรรวมกันเป็นกลุ่ม จะได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย ซึ่งวิธีการสอนวิชาอาชีพอิสระนั้น จะต้องปล่อยให้กิจกรรมเป็นของเด็กเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแลแนะนำ ไม่ใช่เป็นธุรกิจของโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ขาดความกระตือรือร้นและคิดไม่เป็นว่าการทำมาหากินเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามการสอนวิชาอาชีพไม่จำเป็นต้องงดการสอนวิชาการ สอนวิชาการเท่าเดิมแต่การสอนวิชาชีพเป็นส่วนเสริมซึ่งแม้เด็กจะมุ่งเรียนต่อ ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย กลับเป็นการปลูกฝังคุณธรรมให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และหมั่นศึกษาหาความรู้"

ครูที่พูดไม่ได้

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”


เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

ครูที่พูดไม่ได้

"บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียน จะมีส่วนในการเสริมสร้างความคิด จิตใจ และคุณธรรมต่างๆอันพึงประสงค์ได้ ครูอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ ครูพูดได้ และ ครูที่พูดไม่ได้ ครูพูดได้เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งได้รับการยกย่องและยอมรับกันว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ครูพูดไม่ได้ มักได้รับการกล่าวถึงน้อย บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนถือว่าเป็นครูที่พูดไม่ได้ เชื่อว่าโรงเรียนที่สะอาดร่มรื่นเรียบง่าย สดชื่น สงบ แจ่มใส มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ได้รับการดูแล มีความพร้อมเป็นปัจจุบัน
พร้อมที่จะให้ครูและนักเรียนได้ใช้ตลอดเวลาย่อมจะทำให้ครูและนักเรียนได้รับอิทธิพลทำให้เป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงามรักความสะอาด รักความสงบ เรียบง่ายและรักความร่มรื่นไปด้วย ถือว่าคุณธรรมต่างๆอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรจะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนโดยครูประเภทพูดไม่ได้นี้จะช่วยได้เป็นอย่างมาก"

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”


เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน"

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"
 
 
 http://www.northnfe.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กศน.ตำบลหนองกลางดง


ประวัติความเป็นมาของ  กศน.ตำบลหนองกลางดง
กศน.ตำบลหนองกลางดง  อำเภอทัพทัน  จังหวัดอุทัยธานี  สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทัพทัน โดยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลหนองกลางดง ได้ให้ใช้สถานที่ซึ่งเป็นศาลากลางบ้านยางครึ่งเส้นของหมู่บ้าน  และมอบห้องเรียนจำนวน 1 ห้อง  ต่อมาเมื่อปี 2555 ได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จาก อบต.หนองกลางดง และงบประมาณในการจัดสร้าง กศน.ตำบล จากสำนักงาน กศน.ให้จัดตั้งเป็น  กศน.ตำบลหนองกลางดงในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นที่สำหรับจัดกระบวนการเรียนการสอน  การพบกลุ่มนักศึกษา  และให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ  กับประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการจะศึกษาหาความรู้  โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองกลางดงและพื้นที่ใกล้เคียง


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แหล่งทอผ้าพื้นเมืองบ้านโคกหม้อ

แหล่งทอผ้าพื้นเมืองบ้านโคกหม้อ
ชาวบ้านโคกหม้อเป็นชาวลาวครั้งที่อพยพ มาจากเวียงจันทน์ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีฝีมือการทอผ้ามาก หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจการทำนาผู้หญิงในหมู่บ้านจะทอผ้ากัน ผ้าทอนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งที่สืบทอดต่อกันมา 200 กว่าปี ผ้าที่ทอจะเป็นผ้ามัดหมี่ต่อตีนจก ผ้ายกดอกลายเชิงแบบเก่า ลวดลายบนผ้าเป็นแบบโบราณ เช่น ลายด่านเมืองลาว ลายนาค ลายด่านใหญ่ เป็นต้น และในสมัยก่อนจะใช้ครั่งในกรรมวิธีการย้อม
กลุ่มที่ทอมีอยู่สองกลุ่ม คือ ศูนย์ทอผ้าบ้านโคกหม้อ อยู่ข้างวัดโคกหม้อ เป็นกลุ่มที่ทอผ้าไหม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 หลัง อบต. โคกหม้อ เป็นกลุ่มที่ทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ
การเดินทาง
จากอำเภอทัพทันไปตามทางหลวงหมายเลข 3013 ทางไปสว่างอารมณ์ ประมาณ 9 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3456 ตรงไปมีป้ายบอกให้แยกซ้ายไปบ้านโคกหม้อ ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงวัดโคกหม้อ








การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก


เรื่องที่ 4 การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก
ปัจจุบันการหาแหล่งหรือนำวิดีโอมาใช้งานบนบล็อกสามารถดำเนินการได้ 5 รูปแบบ
1.            Upload : ดำเนินการ Upload จากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งเก็บ
2.            Form YouTube : การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
3.            Form YouTube videos : การแทรกไฟล์วิดีโอจากช่อง YouTube ที่เป็นสมาชิก
4.            Form your phone : การแทรกไฟล์วิดีโอจากโทรศัพท์ Smartphone
5.            Form your webcam : การแทรกไฟล์วิดีโอจากกล้องเว็บแคม
ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะ (2) การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
1. เลือกสร้างรายการบทความใหม่ หรือ จะแก้ไขเพิ่มเติมจากบทความเดิมที่มีอยู่
            ที่ตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์วิดีโอ
2. คลิกเลือกที่รายการ Form YouTube

3. ที่ช่อง Browse เลือกหา หรือนำ links URL รายการวิดีโอที่ได้พิมพ์วางในช่อง คลิกเพื่อนค้นหา
4.ทำการตรวจสอบก่อนการวางโดยทำการคลิกที่กรอบไฟล์วิดีโอ


5.หากถูกต้องคลิกที่ปุ่ม Select (สีฟ้า)
6.ไฟล์วิดีโอที่เลือกก็จะปรากฏในพื้นที่  ที่ท่านต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่มบันทึก และเผยแพร่ตามลำดับ


ความคิดเห็นจาก facebook